ก๊าซชีวภาพได้จากของเสียที่เกิดจากฟาร์มสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร ฟาร์มวัว ฟาร์มควาย
มาผ่านการหมักตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพขึ้น ซึ่งได้แก่ก๊าซมีเทน การสร้าง
โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจะต้องมีจำนวนสัตว์ที่เพียงพอ คืออย่างน้อยต้องมีวัว ควาย 4 ตัว
หรือสุกร 10 ตัว และต้องมีน้ำหนักพอประมาณ
กรรมวิธีการทำบ่อก๊าซชีวภาพ บ่อก๊าซชีวภาพจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคืน บ่อเติม
บ่อหมัก บ่อล้ม และบ่อพักกาก โดยขนาดของบ่อจะสัมพันธ์กับจำนวนสัตว์และจำนวนก๊าซ
ที่ต้องการ ทุกบ่อจะอยู่ต่ำกว่าคอกสัตว์ มีการสร้างรางเชื่อมจากคอกสัตว์มายังบ่อเติม เพื่อ
ให้มีความสะดวกในการล้างมูลสัตว์ลงราง น้ำล้างคอกซึ่งอยู่ที่สูงกว่า ก็จะไหลลงมาสู่บ่อเติม
กากที่อยู่ต่ำกว่า
บ่อหมักอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบ่อเติมและบ่อล้น ซึ่งหลังจากมูลสัตว์ลงมายังบ่อเติม
แล้วจะเข้าสู่บ่อหมัก ซึ่งเป็นบ่อที่ไม่มีอากาศ โดยเชื้อจุลินทรีย์ในบ่อจะย่อยสลายมูลสัตว์, ทำให้
เกิดก๊าซขึ้น กระบวนการย่อยสลาย ทำให้สารอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่เป็นต้นเหตุของมลพิษเปลี่ยน
สภาพไป ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ส่วนมูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้วจะล้นขึ้นมายังบ่อล้นเอง
มูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้วนี้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้หรือ
ขายได้ ก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซมีเทน มีคุณสมบัติติดไฟได้ สามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง
เช่น ใช้หุงต้มกับเตาชนิดต่าง ๆ ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่าง จุดเครื่องกกลูกหมู ใช้กับเครื่อง
ทำน้ำอุ่น หรือตู้เย็นก๊าซ เป็นต้น ดังแสดงในรูป

วงจรการเกิดก๊าซชีวภาพและการนำก๊าซชีวภาพไปผลิตกระแสไฟฟ้า


ผู้เขียน : บุญธรรม ภัทราจารุกุล
เรียบเรียงจาก : หนังสือวัสดุช่าง หน้า 221