ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก
จากการศึกษาหนังสือที่มีมาก่อนบอกไว้ว่า
แสงมีลักษณะเหมือนคลื่น แสงไม่ได้ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก
ๆ หลอกหรือ
เมื่อแสงเป็นอนุภาค อนุภาคของแสงเรียกว่าโฟตอน
เมื่อแสงตกกระทบอะตอม และอิเล็กตรอน จะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์ต่าง
ๆ
การรับพลังงานจากโฟตอนนี้ทำให้อิเล็กตรอนมีการเปลี่ยนระดับพลังงาน
หรือขาดภาวะสมดุลย์ เพราะปกติพลังงานในส่วนของอิเล็กตรอนจะมีภาวะสมดุลย์
การเปลี่ยนแปลงสภาวะสมดุลย์ ทำให้เกิดการรับหรือคายพลังงานส่วนเกินออกมา
โดยสรุป
-
แสงประพฤติตัวเป็นอนุภาคได้ เรียกว่าโฟตอน
-
โลหะแต่ละชนิดมีพลังยึดเหนี่ยว เพื่อดึงอิเล็กตรอนไว้
และหากให้โฟตอนตกกระทบ ด้วยค่าปริมาณพลังงานพอเหมาะจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากผิวโลหะได้
ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์