คณิตศาสตร์ของกาลเวลาอาศัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
เป็นมาตรฐานของหน่วยนับที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน วิถีชีวิตในแต่ละวันเริ่มจากเช้า
สาย บ่าย ค่ำ ตกกลางคืนและวนเวียนกลับมาใหม่
มาตรฐานของวัน
หากจะบอกว่าระยะเวลาหนึ่งวันยาวนานเท่าไร เราจะพบว่าธรรมชาติได้สร้างให้มีกลางวัน
กลางคืน ถ้าเรานับช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เพิ่งเริ่มขึ้นจากขอบฟ้า จนพระอาทิตย์ตก
และเริ่มกลับมาขึ้นใหม่เป็นหนึ่งวัน เราจะพบว่า เวลาแต่ละวันจะไม่เท่ากัน
และช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นในแต่ละท้องที่ก็ไม่เท่ากัน แต่เรารู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง
1 รอบ เป็นเวลาหนึ่งวัน
ดังนั้นเราจึงเอาระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเป็นระยะเวลาหนึ่งวัน
ซึ่งจะได้เป็นมาตรฐานกลาง ระบบเวลาแบ่งย่อยให้เป็น 24 ส่วนและเรียกว่า 1 ชั่วโมง
ความจริงแล้วโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง
24 ชั่วโมง แต่ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
การแบ่งหน่วยเวลาในระบบสุริยคติ
ใช้หลักการที่ให้โลกหมุนรอบตัวเองและสัมพัทธ์กับการเคลื่อนที่ของโลกหมุมรอบดวงอาทิตย์ด้วย
ซึ่งโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเรียกว่า
หนึ่งปี
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ระยะเวลาหนึ่งวันเดินทางได้ประมาณ
1 องศา และถ้าเราสังเกตดวงอาทิตย์เคลื่อนที่บนฟากฟ้า 1 องศา จะใช้เวลาประมาณ
4 นาที ดังนั้นเพื่อให้เกิดความ